คำชี้แจงผู้รับบริการใหม่

        สําหรับผู้รับบริการรายใหม่  แล้วมีความประสงค์จะเข้ารับบริการต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวของท่านอย่างละเอียด เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ออกบัตร OPD CARD (ทะเบียนประจําตัวผู้ป่วย) ของสถาบันราชานุกูลให้ล่วงหน้า  ซึ่งจะทําให้ท่านได้รับความสะดวกรวดเร็วขึ้น


เอกสารสำหรับตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วยใหม่ 
( เปิดให้บริการรับบัตรคิวตั้งแต่ 07.00-10.00 น เท่านั้น)

  1. บัตรประชาชนผู้ป่วยหรือสำเนาสูติบัตร ( ใบเกิด )
  2. ทะเบียนบ้านของผู้ป่วย
  3. ใบเปลี่ยน ชื่อ – สกุล ของผู้ป่วย
  4. บัตรประชาชน บิดา / มารดา ของผู้ป่วย
  5. บัตรประจำตัวผู้พิการ ( ถ้ามี )
  6. หนังสือมอบอำนาจ ( กรณีไม่ใช่ บิดา-มารดา หรือผู้ดูแลตามกฎหมาย ไม่ได้พามารักษาเอง)
  7. สำเนาบัตรประชาชน ผู้รับมอบอำนาจ (สามารถเขียนหรือพิมพ์จากที่เว็บไซต์นี้ได้)
* หนังสือมอบอำนาจใช้เฉพาะกรณี บิดา – มารดา ไม่ได้พามารักษาเอง*




การใช้สิทธิเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล 

  • ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ ใช้สิทธิเบิก

  • หน่วยงานต้นสังกัด
  • บัตรทอง
  • สมุดคนพิการ

     
สำหรับผู้มีสิทธิที่ยังไม่มีหรือไม่สามารถมีบัตรประจำตัวประชาชนได้ตามกฎหมาย
ก็สามารถใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงได้ โดย
  1. กรณีเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 7 ปี ให้ใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชนของเด็กที่ปรากฏอยู่ในสูติบัตรหรือทะเบียนบ้าน (ของเด็ก) ยื่นร่วมกับบัตรประชาชนของผู้ดูแลที่พาเด็กไปโรงพยาบาล
  2. กรณีคู่สมรส หรือบิดามารดาของผู้มีสิทธิที่ไม่มีสัญชาติไทย แต่มีเลขประจำตัวคนต่างด้าว 13 หลัก ให้ใช้ บัตรประจำตัวคนต่างด้าว หรือทะเบียนบ้านได้ แต่ถ้าไม่มีเลขประจำตัวคนต่างด้าว 13 หลัก ให้ใช้รายงานทะเบียนประวัติ  ที่มีเลข 12 หลัก และขึ้นต้นด้วยตัว B โดยขอรับเอกสารได้จากนายทะเบียนต้นสังกัดของผู้มีสิทธิ
  3. กรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเป็นผู้ป่วยติดเตียงและไม่สามารถมาแสดงตนได้ ให้ผู้ดูแลนำบัตร ของผู้มีสิทธิพร้อมแสดงบัตรประชาชนของผู้ดูแลเพื่อใช้สิทธิ
  4. กรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวที่เป็นผู้สูงอายุหรือมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ที่เข้ารับการรักษาเสร็จแล้ว แต่ไม่สะดวกในการทำธุรกรรมด้วยตนเอง สามารถให้ผู้ดูแลนำบัตรประชาชนของผู้มีสิทธิพร้อมแสดงบัตรประชาชนของผู้ดูแลเพื่อใช้สิทธิ